การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เกม

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เกม

เทคนิคการสอนโดยใช้เกม
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เกมให้มีประสิทธิภาพ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด คือ
1.  การเลือกและนำเสนอเกม ผู้สอนต้องสร้างขึ้นให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของเนื้อหาสาระของการสอน ถ้านำเกมของผู้อื่นที่สร้าง ต้องนำมาปรับ ดัดแปลงให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ซึ่งเกมการศึกษามี ประเภท  คือ

1)  เกมแบบไม่มีการแข่งขัน เช่น เกมการสื่อสาร เกมการตอบคำถาม เป็นต้น
2)  เกมแบบแข่งขัน มีผู้แพ้ ผู้ชนะ เกมส่วนใหญ่จะเป็นเกมแบบนี้เพราะการแข่งขันช่วยให้การเล่นเพิ่มความสนุกสนาน
3)  เกมจำลองสถานการณ์  เป็นเกมที่จำลองความเป็นจริง  สถานการณ์จริง เกมแบบนี้มี ลักษณะ  คือ
  3.1) การจำลองความเป็นจริงลงมาเล่นในกระดานหรือบอร์ด เช่น เกเศรษฐี เกมมลภาวะ เกมแก้ปัญหาความขัดแย้ง เป็นต้น
  3.2)  การจำลองสถานการณ์และบทบาทให้เหมือนความเป็นจริง โดยผู้เล่นจะต้องลงไปเล่นจริง 
   สุชาติ แสนพิช (http://researchers:in.th/block/Seampich/127)
 กล่าวว่า รูปแบบเกม ที่จะนำมาใช้ต้องคำนึงถึงจุดประสงค์การเรียนรู้เป็นหลัก  ดังนี้

1.  ความจำ ความคงทนในการจำชุดของเนื้อหา เช่น เกมแบบฝึกหัด เกมPuzzle เป็นต้น
2.  ทักษะการกระทำ  มีเรื่องของสถานการณ์และการกระทำ  การเลียนแบบ เป็นเกมแบบ Simulation ต่างๆ เช่น เกมยิง เกมขับรถ เป็นต้น
3.  ประยุกต์ ความคิดรวบยอดและกฎข้อบังคับต่างๆ และขั้นตอนวิธีการในการปฏิบัติมีเงื่อนไขในการกระทำ  เช่น เกมกีฬา, Action
4.  การตัดสินใจ การแก้ปัญหา เกมแบบเป็นเรื่องราว สามารถแสดงผลการกระทำได้ทันที (Real Time) เช่น เกมวางแผน เกมผจญภัย เกมเล่าเรื่องราวแล้วให้เลือก
5.  การอยู่ร่วมกับสังคม เช่น เกมเกี่ยวกับการสื่อสาร เกมเล่าเรื่องแล้วให้เลือก เกมวางแผน
จึงสรุปได้ว่า  การสอนโดยใช้เกมต้องเลือกใช้เกมหรือสร้างเกมให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของการสอน เพื่อฝึกฝนทักษะ เพื่อเรียนรู้เนื้อหาสาระ หรือเพื่อเรียนรู้ความจริงของสถานการณ์ ผู้สอนต้องสังเกตให้ชัดเจนก่อนสร้างเกม หรือก่อนเลือกเกมผู้อื่นมาปรับใช้
2.  การชี้แจงวิธีการเล่นและกติกาการเล่น ผู้สอนควรจัดลำดับขั้นตอนและให้รายละเอียดที่ชัดเจน กติกาการเล่นเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการเล่นเกม  เพราะกติกานี้จะตั้งขึ้นเพื่อควบคุมให้การเล่นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ และดูแลให้ผู้เล่นปฏิบัติตามกติกาของการเล่นอย่างเคร่งครัด

3.  การเล่นเกม ก่อนการเล่น ผู้สอนควรจัดสถานที่ของการเล่นให้อยู่ในสภาพที่เอื้อ ต่อการเล่น  การเล่นควรเป็นไปตามลำดับขั้นตอน  และต้องคอยควบคุมเวลาในการเล่นขณะกำลังเล่น ผู้สอนควรติดตามสังเกตพฤติกรรมการเล่นของผู้เรียนอย่างใกล้ชิด และควรบันทึกข้อมูล ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน  เพื่อนำไปใช้ในการอภิปรายหลังการเล่น

4.  การอภิปรายหลังการเล่น  ขั้นตอนนี้มีความสำคัญมาก หากขาดขั้นตอนนี้การเล่นเกมก็คงไม่ใช่วิธีสอน การอภิปรายหลังการเล่นเกมควรมุ่งประเด็นไปตามจุดประสงค์ของการสอนเพื่ออะไร  ซึ่งอาจแบ่งการอภิปรายผลหลังการเล่นเกมตามจุดประสงค์ของการเล่นเกมได้ ดังนี้

1.  เพื่อฝึกฝนเทคนิคหรือทักษะต่าง ๆ ที่ต้องการให้ผู้เรียน การอภิปรายควรมุ่งไปที่ทักษะนั้นว่า ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะนั้นเพียงใด ประสบความสำเร็จตามต้องการหรือไม่ และจะมีวิธีใดที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จมากขึ้น
2.  เพื่อเรียนรู้เนื้อหาสาระจากเกม ควรอภิปรายในประเด็นที่ว่า ผู้เรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาสาระนั้นอย่างไร ได้ความเข้าใจมาจากเล่นเกมตรงส่วนใด
3.  เพื่อเรียนรู้ความเป็นจริงของสถานการณ์ต่างๆ  ควรอภิปรายในประเด็นว่า  ผู้เรียนได้เรียนรู้ความจริงอะไรบ้าง การเรียนรู้นั้นได้มาจากไหน อย่างไร  ผู้เรียนได้ตัดสินใจอะไรบ้าง ทำไมจึงตัดสินใจเช่นนั้น และการตัดสินใจให้ผลอย่างไร  ผลนั้นบอกความจริงอะไร ผู้เรียนมีข้อสรุปอย่างไร เพราะอะไรจึงสรุปอย่างนั้น  เป็นต้น
จึงกล่าวได้ว่าจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต่างกัน เกมที่ใช้ก็จะแตกต่างกันไปด้วย  ดังนั้นการเลือกใช้และพัฒนาเกม จึงควรคำนึงถึงจุดประสงค์การเรียนรู้ควบคู่ไปกับรูปแบบเกมที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกไปพร้อมกับการเกิดการเรียนรู้
คณาภรณ์  รัศมีมารีย์  กล่าวว่า การเรียนการสอนโดยใช้เกมนี้ต้องมีบทบาทของผู้สอน  ผู้เรียน บรรยากาศการเรียนการสอน  และสื่อ  ดังนี้
การเตรียมบทบาทของผู้สอน
1.  ก่อนการใช้กิจกรรมเกม
 1)  ผู้สอนเตรียมเอกสารความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะสอน
 2)  ผู้สอนศึกษาเกี่ยวกับวิธีการเล่นเกม
 3)  ผู้สอนเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ  เท่ากับจำนวนนักศึกษา
2.  ระหว่างการเล่น
 1)  ผู้สอนแจกเอกสารความรู้และเกม
 2)  ผู้สอนอธิบายกติกา  และวิธีเล่นแก่ผู้เรียน
 3)  ให้กลุ่มผู้เรียนเล่นเกมในเวลาที่กำหนด
3.  หลังการใช้กิจกรรมเกม
 1)  ผู้สอนและนักศึกษาร่วมกันสรุปเนื้อหาความรู้ที่ได้จากการเล่นเกม
 2)  ผู้สอนประเมินตนเองในการใช้เทคนิคเกม
การเตรียมบทบาทของผู้เรียน
 1)  ผู้สอนแบ่งกลุ่มของผู้เรียนให้สอดคล้องกับเกม
 2)  ผู้เรียนศึกษาเอกสารความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียน
 3)  ผู้เรียนศึกษากติกาและวิธีการเล่นเกม
 4)  ผู้เรียนร่วมกันอภิปรายและสรุปเนื้อหาความรู้ที่ได้จากการเล่นเกม
บรรยากาศการเรียนการสอน
 1)  สถานที่ที่ใช้เล่นเกม  ควรเป็นห้องที่สามารถจัดนักศึกษานั่งเป็นกลุ่มได้
 2)  การเรียนเน้นนักศึกษาเป็นศูนย์กลาง  โดยผู้สอนเป็นเพียงผู้ชี้แนะ นิสิต นักศึกษาศึกษาเอกสารความรู้และเล่นเกม
 3)  ในขณะเล่นเกมเพื่อเป็นการผ่อนคลาย  อาจเปิดเพลงเบา ๆ ได้
สื่อการเรียนรู้
 1)  เอกสารความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่สอน (ใบงาน)
 2)  อุปกรณ์เกี่ยวกับเกม  กติกา  และวิธีเล่น
จึงกล่าวได้ว่า  รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เกม  เป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด  ช่วยให้บทเรียนน่าสนใจ  และจูงใจผู้เรียนให้สนใจเรียนรู้เพิ่มขึ้น  เกมอาจจำแนกเป็นเกมที่มีวัสดุประกอบ  เช่น เกมไพ่  เกมบิงโก  เกมอักษรไขว้  เกมกระดานต่าง ๆ  เป็นต้น  และเกมที่ไม่มีวัสดุประกอบ  เช่น เกมทายปัญหา  เกมใบ้คำ  เกมสถานการณ์จำลอง  เป็นต้น  ผู้สอนจึงควรเลือกเกมมาใช้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่สอน  จุดประสงค์และวัยของผู้เรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น